วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

เทคนิคการเขียนบทละคร


เทคนิคการเขียนบทละคร ในที่นี้หมายถึง การเขียนบทละครให้มีปัจจัยต่าง ๆ ที่สามารถนำไปใช้ในการแสดงได้ ปัจจัยในการเขียนที่สำคัญ ประการ คือ
การเขียนบทละคร อาจเขียนจบฉากเดียวหรือหลายฉากก็ได้ เรียกตอนหนึ่งๆว่าองก์ ก็ได้

    1. การแบ่งขั้นตอนของโครงเรื่องออกให้ชัดเจนว่า เรื่องดำเนินจากจุดเริ่มต้นแล้วเข้มข้นขึ้น และคลี่คลายไปสู่จุดจบอย่างไร
          1.1 การเริ่มเรื่อง เป็นการแนะนำผู้ดูให้เข้าใจความเดิมและตัวละครสำคัญในเรื่อง
          1.2 การขยายเรื่อง เป็นการดำเนินเรื่องให้เห็นปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น แสดงพฤติกรรมของตัวละครต่างๆ ตามที่กำหนดไว้
          1.3 การพัฒนาเรื่อง เป็นการแสดงความขัดแย้งขอตัวละครในเรื่อง ทำให้การแสดงเกิดความเข้มข้นขึ้น
          1.4 เป็นการที่ที่พระเอกตกอยู่ในสถานะการณ์ที่ล่อแหลม ถึงขั้นต้องมีการตัดสินใจกระทำบางการบางประการให้เด็ดขาดลงไป
          1.5 การสรุปเรื่อง หรือการดำเนินเรื่องไปสู่จุดจบบริบูรณ์
     2. การแบ่งเรื่องออกเป็นกลุ่มย่อยๆ เพื่อสถานะการณ์ต่างๆ ในแต่ละตอนเป็นไปตามวัตถุประสงค์โดยแบ่งได้ ประการคือ
          2.1 แสดงความปรารถนาของตัวละคร
          2.2 รักษาความต่อเนื่องของเนื้อเรื่องโดยไม่ทำลายวัตถุประสงค์หลักของเรื่อง
          2.3 ทำให้การดำเนินเรื่องแต่ละตอนประทับใจ
          2.4 สอนเงื่อนงำไว้ในกาละเทศะที่สมควร
          2.5 บรรจุปัจจัยที่ทำให้เกิดความประหลาดใจ
          2.6 เปิดเผยสิ่งต่างๆที่ควรเปิดเผยในกาละเทศะที่สมควร
     3. ลักษณะ คือ กลวิธีในการนำฉันทลักษณ์ต่างๆ มาใช้ในการแสดงออกของสถานะการณ์และความคิดของลักษณะมี 36 วิธี ซึ่งพอจะสรุปได้ว่าสำนวนที่จะนำมาประพันธ์เป็นบทบรรยายและบทเจรจา ต้องคำนึงถึง
          3.1 พื้นเพของตัวละคร
          3.2 ความรู้สึกที่ต้องการให้เกิดกับคนดู
          3.3 ความแจ่มแจ้งของสาระในเรื่องที่ต้องการถ่ายทอดให้คนดูเข้าใจ
          3.4 ความสัมพันธ์กับลักษณะของคนตรีและทำนองเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง




ฉาก   บอกให้ทราบสถานที่ชัดเจน เช่น ในป่าลึก หาดทราย ในบ้าน หรือในห้อง บอกเวลาในขณะนั้นด้วย
ตัวละคร  บอกเพศ ชื่อและชื่อสกุล อายุรูปร่างลักษณะ
การบรรยายนำเรื่องเพื่อสร้างบรรยากาศ   ในกรณีเป็นเรื่องยาวควรมีอย่างยิ่ง แต่ถ้าเป็นเรื่องสั้นอาจไม่จำเป็น
บทสนทนา   มีความสำคัญมาก เพราะการดำเนินเรื่องอยู่ที่การสนทนาของตัวละครใช้ภาษาพูดให้เหมือนชีวิตจริงๆ ควรเป็นประโยคสั้นๆเข้าใจง่าย อาจแทรกอารมณ์ขันลวไป จะทำให้เรื่องออกรสยิ่งขึ้น
ตอนจบ   ต้องจบอย่างมีเหตุผล จบอย่างมีความสุข หรือเศร้า หรือจบลงเฉยๆด้วยการทิ้งท้ายคำพูดให้ผู้ชมคิดเอง อาจเป็นถ้อยคำประทับใจเหมือนละลอกคลื่นที่ยังคงพริ้วกระทบฝั่ง หลังจากได้ทิ้งก้อนหินลงไปเมื่อครู่ใหญ่ๆ
การขึ้นต้นและการจบเรื่อง เป็นลีลาและศิลปะของผู้เขียนโดยเฉพาะที่จะทำให้ผู้ชมพอใจ แต่เมื่อจบแล้วต้องให้เข้าใจเรื่องโดยตลอด

COSTUME DESIGNER : ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย

     มีหน้าที่ออกแบบและดูแลเครื่องแต่งกายของตัวละคร ครอบคลุมถึงเครื่องประดับ กระเป๋าสะพาย ส่วนประกอบของเครื่องแบบ เช่น กุญแจมือและกระบองยาม หรือสิ่งใดๆ ที่สวมใส่อยู่บนตัวละคร (แต่ถ้าของดังกล่าวเป็นของที่ประดับไว้ในฉาก จะกลายเป็นหน้าที่ของผู้จัดหาอุปกรณ์ประกอบฉากทันที) ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกายจะต้องเป็นผู้ที่เข้าใจในแฟชั่น ไม่ได้หมายถึงต้องเป็นคนอินเทรนด์ แต่ต้องรู้ว่าเสื้อผ้าแบบไหนส่งผลต่อบุคลิกของตัวละครอย่างไร 


     ออกแบบเครื่องแต่งกายคือการประดิษฐ์ของ เครื่องแต่งกาย สำหรับลักษณะโดยรวมของตัวละครหรือนักแสดง นี้มักจะเกี่ยวข้องกับการวิจัยการออกแบบและการสร้างรายการที่เกิดขึ้นจริงจากความคิด เครื่องแต่งกาย อาจจะเป็นสำหรับ ละคร หรือ ภาพยนตร์ ประสิทธิภาพ แต่อาจไม่ถูก จำกัด ให้ใช้เช่น การออกแบบเครื่องแต่งกายไม่ควรจะสับสนกับ การประสานงานเครื่องแต่งกาย ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขเพียงเสื้อผ้าที่มีอยู่แม้ว่าทั้งสองสร้าง เสื้อผ้าเวที .

     การทำงานของนักออกแบบ นักออกแบบเครื่องแต่งกายของพวกเขาเริ่มต้นการทำงานโดยการอ่านสคริปที่จะผลิต หากการผลิตตั้งอยู่ในยุคประวัติศาสตร์ที่เฉพาะเจาะจงแฟชั่นของช่วงเวลานี้จะต้องมีการวิจัย เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของความคิดในที่ประชุมครั้งแรกกับ ผู้กำกับและทีมงานออกแบบ ออกแบบเครื่องแต่งกายอาจต้องการที่จะนำเสนอเครื่องแต่งกายเพียงไม่กี่ภาพร่างคร่าวๆ นี้ยังเป็นเวลาที่เหมาะสมเพื่อตรวจสอบกับกรรมการในจำนวนที่แน่นอนของตัวอักษรที่ต้องแต่งกายเป็นตัวอักษรที่ไม่ใช่การพูดในผู้อำนวยการวางแผนที่จะรวมอาจไม่ได้รับการจดทะเบียนในสคริปต์
     มันเป็นความรับผิดชอบออกแบบเครื่องแต่งกายที่จะวาดขึ้นพล็อตเครื่องแต่งกาย พล็อตเครื่องแต่งกายเป็นรายการหรือแผนภูมิที่แสดงให้เห็นซึ่งตัวอักษรปรากฏในฉากแต่ละสิ่งที่พวกเขาสวมใส่และการเคลื่อนไหวโดยรวมของพวกเขาตลอดการเล่น ซึ่งจะช่วยติดตามความต้องการเครื่องแต่งกายที่เฉพาะเจาะจงของตัวละครทุก นอกจากนี้ยังสามารถระบุความท้าทายเครื่องแต่งกายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นเช่นการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมากระหว่างฉาก
     เมื่อผู้กำกับและทีมงานการผลิตได้รับการอนุมัติร่างเบื้องต้นออกแบบเครื่องแต่งกายของเธอหรือเขาสามารถดึงขึ้นการออกแบบเครื่องแต่งกายสุดท้าย การออกแบบขั้นสุดท้ายจะทำในสีเต็ม พวกเขาแสดงรูปแบบ, ภาพเงาพื้นผิวอุปกรณ์และคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์ของเครื่องแต่งกาย
     เมื่อการแสดงเปิดงานของนักออกแบบเสร็จสมบูรณ์เป็นหลัก ตอนนี้ก็ปกติการทำงานของผู้ช่วยตู้เสื้อผ้าเพื่อให้แน่ใจว่าด้านของการผลิตทุกการทำงานเช่นเดียวกับนักออกแบบตั้งใจไว้ครั้งแล้วครั้งเล่าจนการผลิตที่ปิด

อ้างอิง : http://cmrudrama.blogspot.com/

วิธีการและหลักในการตกแต่งเสื้อ

     การออกแบบตกแต่งเสื้อ นอกจากจะช่วยให้เสื้อผ้ามีความสวยงาม น่าสนใจและดูโดดเด่นแปลกตาแล้ว ก็ยังช่วยปกปิดส่วนบกพร่องของร่างกาย และฝีมือการตัดเย็บที่ไม่ปราณีตได้


วิธีตกแต่งเสื้อ มี 3 วิธี คือ

1. ใช้เครื่องประดับเพิ่มเติมต่างหากจากตัวเสื้อ เช่น การติดเข็มกลัดดอกไม้ หรือ เข็มกลัดที่ทำจากโลหะหรือประดับด้วยเพชรพลอย

2. ทำส่วนหนึ่งส่วนใดที่เป็นโครงสร้างของเสื้อให้น่าสนใจ การตกแต่งเสื้อวิธีนี้ เป็นการตกแต่งส่วนหนึ่งของแบบเสื้อ ไม่สามารถตัดหรือถอดออกได้ เช่น รูปแบบขอกปกเสื้อ กระเป๋าเสื้อ ตะเข็บ การตีเกล็ด เป็นต้น

3. ใช้วัสดุอื่นเพิ่มติดไปกับตัวเสื้อ การตกแต่งเสื้อด้วยวิธีนี้ แม้ไม่มีหรือขาดหายไป ก็จะไม่ทำให้แบบเสื้อเสียทรง เนื่องจากเป็นการเพิ่มรายละเอียดลงบนตัวเสื้อ เช่น การติดลูกไม้ ชายครุย โบ พู่ เป็นต้น 

หลักการออกแบบตกแต่งเสื้อ

1. การตกแต่งให้สัมพันธ์กับโครงสร้างของเสื้อเพื่อไม่ให้ดูรกรุงรัง

2. การตกแต่งให้สัมพันธ์กับลักษณะปลีกย่อยและผิวสัมผัสของผ้าตัวเสื้อ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกลมกลืน

3. การตกแต่งอย่างมีเอกภาพทำให้ดูโดดเด่นและน่าสนใจกว่าการตกแต่งมากมาย หลายบริเวณ

4. การเลือกสีไม่ให้ดูขัดตา

5. ขนาดของวัสดุตกแต่งสัมพันธ์กับขนาดบริเวณที่จะตกแต่ง เพื่อให้เกิดความสวยงาม กลมกลืน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับตัวเสื้อ



อ้างอิง : http://skyexitsjob.blogspot.com/

บทบาทและหน้าที่เครื่องแต่งกายในการแสดง



     ความหมายของการออกแบบตกแต่งเครื่องแต่งกายในการแสดง การออกแบบเครื่องแต่งกายเป็นการแสดงแบบตัวอย่างของเครื่องแต่งกายเพื่อใช้ในการแสดง ซึ่งแบบตัวอย่างของเครื่องแต่งกายจะแตกต่างกันไปตามแนวคิด และความคิดสร้างสรรค์ของนักออกแบบ



     โดยปัจจัยที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางของแนวคิดสร้างสรรค์ คือ ขนบธรรมเนียมประเพณี และค่านิยมของผู้คนในแต่ละยุคสมัย ในแต่ละท้องถิ่น หรืออาจเป็นการออกแบบที่ดัดแปลงมาจากเครื่องแต่งกายซึ่งกำลังได้รับความนิยมอยู่ในสมัยนั้นๆ หรือเคยได้รับความนิยมมาก่อนแล้วในอดีต โดยเป็นการออกแบบที่อาศัยการวิเคราะห์ตีความ บทละคร ตัวละคร รวมทั้งยังต้องคำนึงถึงรูปแบบการแสดง รูปร่างของนักแสดง สถานที่ที่จะใช้แสดงและวัตถุประสงค์ในการนำเสนอการแสดงเป็นหลัก
นำเสนอยุคสมัยของละครหรือเรื่องราวที่เกิดขึ้นในการแสดง เครื่องแต่งกายนำเสนอภาพรวมของความนิยมของผู้คนในแต่ละสมัย เครื่องแต่งกายในแต่ละยุคก็ต่างมีเอกลักษณ์เฉพาะของตน ซึ่งสามารถบ่งบอกวิถีชีวิตและค่านิยมของผู้คนในสมัยนั้นๆ เครื่องแต่งกายที่ตัวละครสวมใส่จึงสามารถแสดงเวลาที่สถานการณ์ในละครนั้นเกิดขึ้นว่าเป็นยุคสมัยใด

    
     นำเสนอสถานที่ของละคร เครื่องแต่งกายแต่ละประเภทมีหน้าที่ต่างกัน เช่น เสื้อโค้ท เป็นเสื้อที่ใช้สวมใส่เมื่อต้องการออกนอกบ้านในฤดูหนาว หรือวันที่มีอากาศหนาว โดยเป็นเครื่องแต่งกายที่จำเป็นในประเทศที่มีอากาศหนาวอย่าง ทวีปยุโรป ดังนั้นเมื่อตัวละครสวมใส่เครื่องแต่งกายประเภทใด คนดูก็จะสามารถเข้าใจได้ว่ามีลักษณะอากาศเป็นอย่างไร และน่าจะตั้งอยู่ในภูมิภาคใด เป็นต้น 

     นำเสนอบุคลิกลักษณะของตัวละคร เครื่องแต่งกายแสดงออกซึ่งบุคลิกลักษณะนิสัยและรสนิยมของผู้สวมใส่

     นำเสนอสถานภาพของตัวละคร รูปแบบ ลักษณะ และรายละเอียดการตัดเย็บของเครื่องแต่งกายแสดงนำเสนอสถานภาพของตัวละคร ว่าตัวละครนั้นมีสถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจเป็นอย่างไร เช่น ลักษณะการแต่งกายของชนชั้นสูง ชนชั้นกลาง และชนชั้นแรงงานในอดีตต่างมีรูปแบบที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นความแตกต่างนี้ก็เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย และปัจจัยต่างๆ เช่น สถานการณ์ทางการเมือง ศาสนา สังคมและเศรษฐกิจ




อ้างอิง : http://skyexitsjob.blogspot.com/


การสร้างฉาก (2) : ใช้ฉากเป็นองค์ประกอบช่วยในการดำเนินเรื่อง

     ถ้าหากเรามีสิ่งอื่นๆที่น่าสนใจกว่าในการที่จะใช้เป็นจุดเริ่มต้นของการคิดเค้าโครงเรื่อง เราสามารถนำฉากมาช่วยเสริมการดำเนินเรื่องให้ดำเนินไปได้อย่างสะดวก เช่นหากเรามีตัวละครที่ดูน่าสนใจ มีเหตุการณ์ที่ดูตื่นเต้นหรือแม้จะมีแค่แนวคิดอะไรเจ๋งๆสักอย่างหนึ่ง หากเราสร้างสิ่งเหล่านั้นออกมาได้เป็นรูปเป็นร่างแล้วจากนั้นเราค่อยมาคิดว่าตัวละครควรจะอยู่ในสถานที่แบบไหน หรือเหตุการณ์ที่เราคิดได้นั้นควรจะไปดำเนินที่ไหนดี

     คำนึงดูว่าตัวละครที่เราบรรจงสร้างขึ้นมา เขาควรที่จะอยู่ในสถานที่แบบไหนดี ถึงจะทำให้พวกเขาได้โลดแล่นออกมาอย่างเต็มที่ ตัวอย่างเช่น หาเรากำลังจะเขียนถึงคนที่กำลังจะฆ่าตัวตาย เราต้องลองจินตนาการว่าสถานที่แบบไหนที่คนจะไปฆ่าตัวตาย อาจจะมีหลายๆสถานที่เช่น ตึกร้าง สะพานข้ามแม่น้ำ ใต้ต้นไม้ ถนนที่มีรถวิ่งเร็วและพลุกพล่าน หรือเด็กหนุ่มจากชนบทที่กำลังหลีกหนีความยากจน เขาต้องการมาแสวงหางานทำในเมือง สถานที่ก็คงต้องเป็นเมืองใหญ่เช่นเมืองหลวง


     ในกรณีนี้เราไม่ได้เน้นเอาฉากหรือสถานที่เป็นหลักในการดำเนินเรื่อง บางทีเราอาจจะไม่ต้องระบุถึงสถานที่จริง หรือไม่ต้องบรรยายถึงสถานที่แห่งนั้นอย่างละเอียดก็ได้ เพราะเรื่องสั้นมีความยาวที่จำกัด เราควรเหลือพื้นที่ให้กับสิ่งที่เราต้องการเน้นจะดีกว่า โดยอาจจะแค่บอกว่าที่นี่เป็นบ้าน เป็นตึกสูง ในโรงเรียน กลางตลาด ในป่าทึบ ฯลฯ

อ้างอิง : แต่งเรื่องสั้น

การสร้างฉาก (1) :ใช้ฉากหรือสถานที่เป็นหลักในการเล่าเรื่อง

ฉาก


     ฉากก็เหมือนกับบรรจุภัณฑ์ที่จะเก็บทุกอย่างไว้ในนั้น และสิ่งต่างๆที่อยู่ในฉากก็จะโลดแล่นไปตามวิถีที่ผู้แต่งเรื่องสั้นจะปั้นแต่งมันขึ้นมา อย่างที่ผู้เขียนได้กล่าวไปแล้วว่า องค์ประกอบของเรื่องสั้นนั้นจะมี ฉาก ตัวละคร และเหตุการณ์ เราสามารถจะเน้นที่องค์ประกอบไหนเป็นหลักก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการบรรยายถึงองค์ประกอบไหนเป็นหลัก


     หากเราจะพูดถึงฉากเป็นหลัก เราอาจจะอยากที่จะบรรยายถึงสถานที่สำคัญ หรือสถานที่ที่มีเหตุการณ์สำคัญเคยเกิดขึ้น เพื่อที่จะสร้างความน่าสนใจให้กับเรื่องสั้นของเรา สถานที่สำคัญของโลกก็เช่น พีระมิดกิซ่า ประเทศอียิปต์ วิหารพาร์เธนอนแห่งอะโครโพลิส ประเทศกรีซ สโตนเฮนจ์ ประเทศอังกฤษ กาบา กรุงเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย พระราชวังต้องห้าม กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน กำแพงเมืองจีน ประเทศจีน ฯลฯ สถานที่ที่กล่าวไปนี้ล้วนมีเหตุการณ์สำคัญๆในประวัติศาสตร์โลกมากมายที่น่าสนใจ หากเราเขียนเรื่องสั้นของเราให้ไปดำเนินเรื่องยังสถานที่เหล่านั้น แม้เนื้อเรื่องจะไม่เกี่ยวข้องกับประวัตศาสตร์หรือเหตุการณ์สำคัญที่เคยเกิดขึ้น แต่มันก็ดูเท่ห์ไม่น้อยที่ให้ไปเกิดเหตุคิดีฆาตรกรรมที่นั่น

     หากผู้แต่งเรื่องสั้นมีความรู้ทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสถานที่เหตุการณ์สำคัญเหล่านั้น การนำความรู้บางเรื่องมาผูกโยงเข้ากับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเรื่องสั้น จะเพิ่มความน่าสนใจและเพิ่มความเข้มข้นให้กับเรื่องสั้นของเราเป็นอย่างมาก หรือจะเป็นเรื่องราวในปัจจุบันที่ยังเกิดขึ้นกับสถานที่นั้นๆก็ดูน่าสนใจ

     หากลองดูสถานที่ที่เคยเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 สักแห่งหนึ่ง หากมองดูในประเทศไทยในเหตุการณ์ที่สหรัฐอเมริกาและอังกฤษได้ส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิดที่สถานีรถไฟหัวลำโพง ในเวลานั้นผู้คนต่างลำบากต้องคอยหลบระเบิด เมื่อมีสัญญาณจากทางการให้หลบภัย บางคนต้องหนีไปอยู่ต่างจังหวัดหรือในหลุมหลบภัยที่ทางการจัดไว้ให้

     หากเราสามารถบรรยายถึงบรรยากาศของสถานที่ในช่วงเวลานั้นได้อย่างเห็นภาพ นั่นก็จะยิ่งสร้างความน่าสนใจและยังเป็นความรู้ทางประวัติศาสตร์ให้ผู้ที่มาอ่านต่อไป เรื่องสั้นของเรายังทำหน้าที่เป็นบันทึกทางประวัติศาสตร์อีกด้วย เมื่อเราตั้งใจแล้วว่าจะใช้สถานที่แห่งนี้และช่วงเวลานี้เป็นฉาก จากนั้นเราก็ค่อยมาสร้างตัวละครหรือจะสร้างเหตการณ์เพิ่มเข้าไปก็ได้ ลองดูตัวอย่างดังต่อไปนี้

     วรชัยคิดถึงแฟนสาวที่บ้านของเธออยู่ติดกับหัวลำโพง เขาได้ข่าวว่าตอนนี้ฝ่ายสัมพันธมิตรต้องการที่จะทำลายเส้นทางคมนาคมเพื่อตัดเส้นทางลำเลียงของทหารญี่ปุ่น จดหมายที่ได้รับล่าสุดจากแฟนสาวก็นานมากแล้ว วรชัยตัดสินในเดินทางจากต่างจังหวัดไปหาเธอที่หัวลำโพง เมื่อเขามาถึงบ้านเธอปรากฏบ้านเธอนั้นได้พังไปแล้วจากลูกระเบิดที่ถูกทิ้งมาจากเครื่องบิน แต่ทหารที่คุมพื้นที่บอกว่าทุกคนต่างหลบหนีไปอยู่ที่หลุมหลบภัยหมดแล้ว วรชัยจึงออกตามหา แต่ระหว่างนั้นทหารฝ่ายญี่ปุ่นเริ่มสงสัยว่าวรชัยจะเป็นสายลับของขบวนการใต้ดินเสรีไทย จึงต้องหนีหัวซุกหัวซุนและหายออกไปจากเมืองหลวง ในระหว่างที่หลบหนี วรชัยได้รับการช่วยเหลือจากคนที่เป็นกลุ่มเสรีไทยจริงๆ เพราะกลุ่มเสรีไทยเชื่อว่าวรชัยคือขบวนการใต้ดินเสรีไทยจริงๆเพราะถูกทหารญี่ปุ่นไล่ล่า เหตุการณ์วุ่นวายก็เกิดขึ้น สุดท้ายเมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม วรชัยจึงมาค้นหาแฟนสาวของเขาอีกครั้งที่หัวลำโพง และเมื่อทั้งคู่เจอกันก็ต่างดีใจ

     นี่คือโครงเรื่องคร่าวๆที่เราเน้นสถานที่จริงและบรรยากาศจริงจากช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ หากเราจะแต่งเรื่องสั้นโดยใช้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เรามีความจำเป็นต้องศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ให้ถูกต้อง และจะให้ดีต้องครบทุกด้านด้วย สถานที่สำคัญที่เคยเกิดเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง บางที่เราอาจจะใช้สถานที่ใกล้ๆตัวเราที่เน้นความสวยงามน่าท่องเที่ยวมาเป็นตัวเดินเรื่องก็ได้ ตัวอย่างเรื่องสั้นต่อไปนี้จะเป็นเรื่องสั้นที่ผู้เขียนแต่งขึ้นโดยคิดถึงสถานที่ก่อน จากนั้นก็มาคิดว่าจะให้เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นที่นั่นดี และสุดท้ายก็มาสร้างตัวละครเข้าไป




การเขียนบทสนทนาให้น่าสนใจ



     - หน้าที่ของบทสนทนามี 2 อย่าง คือ ให้ข้อมูลเพื่อให้เรื่องเดินไปข้างหน้า หรือ เพื่อแสดงลักษณะนิสัยของตัวละคร
     - เราต้องรู้จักตัวละครให้ดีก่อน ว่ามีทัศนคติแบบไหน เพราะเรื่องนี้จะมีผลต่อปฏิกิริยาของแต่ละตัวละคร  โดยตัวละครที่ต่างกันจะมีปฏิกิริยาไม่เหมือนกัน
     - เลือกรูปแบบคำพูดที่เข้ากับตัวละครและสถานการณ์ มี 4 แบบ คือ

   
     1) พูดสิ่งที่คิดออกมาตรงๆ  เหมาะสำหรับตัวละครที่มีนิสัยโผงผาง ตรงไปตรงมา  ร่าเริง และเข้ากับคนง่าย   คนประเภทนี้จะพูดสิ่งที่คิดออกมาจนหมด หรือในขณะที่อดทนไม่ไหว
     2) พูดแบบอ้อมๆ มี 2 กรณี พูดอ้อมๆเพราะรู้สึกเกรงใจ มักใช้กับตัวละครที่ขี้อายและขาดความมั่นใจ กับพูดอ้อมด้วยการเปรียบเปรย  ตัวละครจะต้องสติและไหวพริบจึงจะกล่าวประโยคที่มีความแฝงได้
     3) ตอบรับด้วยคำสร้อย (เช่น อา อืม เออ นะ เนอะ) การตอบรับสั้นๆจะทำให้ดูสมจริงขึ้น
     4) ไม่พูดเลย ซึ่งบางทีอาจเป็นการตอบรับที่มีน้ำหนักมากที่สุด
- การสนทนาที่น่าสนใจ = การสนทนาที่มีข้อมูล  ซึ่งแบ่งเป็นข้อมูลทั่วไปและข้อมูลที่สำคัญ

อ้างอิง : http://www.dek-d.com/writer/