ฉาก
ฉากก็เหมือนกับบรรจุภัณฑ์ที่จะเก็บทุกอย่างไว้ในนั้น และสิ่งต่างๆที่อยู่ในฉากก็จะโลดแล่นไปตามวิถีที่ผู้แต่งเรื่องสั้นจะปั้นแต่งมันขึ้นมา อย่างที่ผู้เขียนได้กล่าวไปแล้วว่า องค์ประกอบของเรื่องสั้นนั้นจะมี ฉาก ตัวละคร และเหตุการณ์ เราสามารถจะเน้นที่องค์ประกอบไหนเป็นหลักก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการบรรยายถึงองค์ประกอบไหนเป็นหลัก
หากเราจะพูดถึงฉากเป็นหลัก เราอาจจะอยากที่จะบรรยายถึงสถานที่สำคัญ หรือสถานที่ที่มีเหตุการณ์สำคัญเคยเกิดขึ้น เพื่อที่จะสร้างความน่าสนใจให้กับเรื่องสั้นของเรา สถานที่สำคัญของโลกก็เช่น พีระมิดกิซ่า ประเทศอียิปต์ วิหารพาร์เธนอนแห่งอะโครโพลิส ประเทศกรีซ สโตนเฮนจ์ ประเทศอังกฤษ กาบา กรุงเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย พระราชวังต้องห้าม กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน กำแพงเมืองจีน ประเทศจีน ฯลฯ สถานที่ที่กล่าวไปนี้ล้วนมีเหตุการณ์สำคัญๆในประวัติศาสตร์โลกมากมายที่น่าสนใจ หากเราเขียนเรื่องสั้นของเราให้ไปดำเนินเรื่องยังสถานที่เหล่านั้น แม้เนื้อเรื่องจะไม่เกี่ยวข้องกับประวัตศาสตร์หรือเหตุการณ์สำคัญที่เคยเกิดขึ้น แต่มันก็ดูเท่ห์ไม่น้อยที่ให้ไปเกิดเหตุคิดีฆาตรกรรมที่นั่น
หากผู้แต่งเรื่องสั้นมีความรู้ทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสถานที่เหตุการณ์สำคัญเหล่านั้น การนำความรู้บางเรื่องมาผูกโยงเข้ากับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเรื่องสั้น จะเพิ่มความน่าสนใจและเพิ่มความเข้มข้นให้กับเรื่องสั้นของเราเป็นอย่างมาก หรือจะเป็นเรื่องราวในปัจจุบันที่ยังเกิดขึ้นกับสถานที่นั้นๆก็ดูน่าสนใจ
หากลองดูสถานที่ที่เคยเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 สักแห่งหนึ่ง หากมองดูในประเทศไทยในเหตุการณ์ที่สหรัฐอเมริกาและอังกฤษได้ส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิดที่สถานีรถไฟหัวลำโพง ในเวลานั้นผู้คนต่างลำบากต้องคอยหลบระเบิด เมื่อมีสัญญาณจากทางการให้หลบภัย บางคนต้องหนีไปอยู่ต่างจังหวัดหรือในหลุมหลบภัยที่ทางการจัดไว้ให้
หากเราสามารถบรรยายถึงบรรยากาศของสถานที่ในช่วงเวลานั้นได้อย่างเห็นภาพ นั่นก็จะยิ่งสร้างความน่าสนใจและยังเป็นความรู้ทางประวัติศาสตร์ให้ผู้ที่มาอ่านต่อไป เรื่องสั้นของเรายังทำหน้าที่เป็นบันทึกทางประวัติศาสตร์อีกด้วย เมื่อเราตั้งใจแล้วว่าจะใช้สถานที่แห่งนี้และช่วงเวลานี้เป็นฉาก จากนั้นเราก็ค่อยมาสร้างตัวละครหรือจะสร้างเหตการณ์เพิ่มเข้าไปก็ได้ ลองดูตัวอย่างดังต่อไปนี้
วรชัยคิดถึงแฟนสาวที่บ้านของเธออยู่ติดกับหัวลำโพง เขาได้ข่าวว่าตอนนี้ฝ่ายสัมพันธมิตรต้องการที่จะทำลายเส้นทางคมนาคมเพื่อตัดเส้นทางลำเลียงของทหารญี่ปุ่น จดหมายที่ได้รับล่าสุดจากแฟนสาวก็นานมากแล้ว วรชัยตัดสินในเดินทางจากต่างจังหวัดไปหาเธอที่หัวลำโพง เมื่อเขามาถึงบ้านเธอปรากฏบ้านเธอนั้นได้พังไปแล้วจากลูกระเบิดที่ถูกทิ้งมาจากเครื่องบิน แต่ทหารที่คุมพื้นที่บอกว่าทุกคนต่างหลบหนีไปอยู่ที่หลุมหลบภัยหมดแล้ว วรชัยจึงออกตามหา แต่ระหว่างนั้นทหารฝ่ายญี่ปุ่นเริ่มสงสัยว่าวรชัยจะเป็นสายลับของขบวนการใต้ดินเสรีไทย จึงต้องหนีหัวซุกหัวซุนและหายออกไปจากเมืองหลวง ในระหว่างที่หลบหนี วรชัยได้รับการช่วยเหลือจากคนที่เป็นกลุ่มเสรีไทยจริงๆ เพราะกลุ่มเสรีไทยเชื่อว่าวรชัยคือขบวนการใต้ดินเสรีไทยจริงๆเพราะถูกทหารญี่ปุ่นไล่ล่า เหตุการณ์วุ่นวายก็เกิดขึ้น สุดท้ายเมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม วรชัยจึงมาค้นหาแฟนสาวของเขาอีกครั้งที่หัวลำโพง และเมื่อทั้งคู่เจอกันก็ต่างดีใจ
นี่คือโครงเรื่องคร่าวๆที่เราเน้นสถานที่จริงและบรรยากาศจริงจากช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ หากเราจะแต่งเรื่องสั้นโดยใช้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เรามีความจำเป็นต้องศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ให้ถูกต้อง และจะให้ดีต้องครบทุกด้านด้วย สถานที่สำคัญที่เคยเกิดเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง บางที่เราอาจจะใช้สถานที่ใกล้ๆตัวเราที่เน้นความสวยงามน่าท่องเที่ยวมาเป็นตัวเดินเรื่องก็ได้ ตัวอย่างเรื่องสั้นต่อไปนี้จะเป็นเรื่องสั้นที่ผู้เขียนแต่งขึ้นโดยคิดถึงสถานที่ก่อน จากนั้นก็มาคิดว่าจะให้เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นที่นั่นดี และสุดท้ายก็มาสร้างตัวละครเข้าไป
หากเราสามารถบรรยายถึงบรรยากาศของสถานที่ในช่วงเวลานั้นได้อย่างเห็นภาพ นั่นก็จะยิ่งสร้างความน่าสนใจและยังเป็นความรู้ทางประวัติศาสตร์ให้ผู้ที่มาอ่านต่อไป เรื่องสั้นของเรายังทำหน้าที่เป็นบันทึกทางประวัติศาสตร์อีกด้วย เมื่อเราตั้งใจแล้วว่าจะใช้สถานที่แห่งนี้และช่วงเวลานี้เป็นฉาก จากนั้นเราก็ค่อยมาสร้างตัวละครหรือจะสร้างเหตการณ์เพิ่มเข้าไปก็ได้ ลองดูตัวอย่างดังต่อไปนี้
วรชัยคิดถึงแฟนสาวที่บ้านของเธออยู่ติดกับหัวลำโพง เขาได้ข่าวว่าตอนนี้ฝ่ายสัมพันธมิตรต้องการที่จะทำลายเส้นทางคมนาคมเพื่อตัดเส้นทางลำเลียงของทหารญี่ปุ่น จดหมายที่ได้รับล่าสุดจากแฟนสาวก็นานมากแล้ว วรชัยตัดสินในเดินทางจากต่างจังหวัดไปหาเธอที่หัวลำโพง เมื่อเขามาถึงบ้านเธอปรากฏบ้านเธอนั้นได้พังไปแล้วจากลูกระเบิดที่ถูกทิ้งมาจากเครื่องบิน แต่ทหารที่คุมพื้นที่บอกว่าทุกคนต่างหลบหนีไปอยู่ที่หลุมหลบภัยหมดแล้ว วรชัยจึงออกตามหา แต่ระหว่างนั้นทหารฝ่ายญี่ปุ่นเริ่มสงสัยว่าวรชัยจะเป็นสายลับของขบวนการใต้ดินเสรีไทย จึงต้องหนีหัวซุกหัวซุนและหายออกไปจากเมืองหลวง ในระหว่างที่หลบหนี วรชัยได้รับการช่วยเหลือจากคนที่เป็นกลุ่มเสรีไทยจริงๆ เพราะกลุ่มเสรีไทยเชื่อว่าวรชัยคือขบวนการใต้ดินเสรีไทยจริงๆเพราะถูกทหารญี่ปุ่นไล่ล่า เหตุการณ์วุ่นวายก็เกิดขึ้น สุดท้ายเมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม วรชัยจึงมาค้นหาแฟนสาวของเขาอีกครั้งที่หัวลำโพง และเมื่อทั้งคู่เจอกันก็ต่างดีใจ
นี่คือโครงเรื่องคร่าวๆที่เราเน้นสถานที่จริงและบรรยากาศจริงจากช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ หากเราจะแต่งเรื่องสั้นโดยใช้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เรามีความจำเป็นต้องศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ให้ถูกต้อง และจะให้ดีต้องครบทุกด้านด้วย สถานที่สำคัญที่เคยเกิดเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง บางที่เราอาจจะใช้สถานที่ใกล้ๆตัวเราที่เน้นความสวยงามน่าท่องเที่ยวมาเป็นตัวเดินเรื่องก็ได้ ตัวอย่างเรื่องสั้นต่อไปนี้จะเป็นเรื่องสั้นที่ผู้เขียนแต่งขึ้นโดยคิดถึงสถานที่ก่อน จากนั้นก็มาคิดว่าจะให้เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นที่นั่นดี และสุดท้ายก็มาสร้างตัวละครเข้าไป
อ้างอิง : แต่งเรื่องสั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น